เมื่อไม่นานมานี้ Apple และ Google ได้ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มาพร้อมกับ
eSIM ได้แก่ Apple Watch Series 3, Google Pixel 2 และ Pixel 2 XL แล้วเจ้าซิมการ์ดตัวนี้มันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร มาหาคำตอบกันครับ
eSIM
เป็นซิมการ์ดแบบใหม่ที่ฝังมากับอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์
เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดีกว่าและปลอดภัยยิ่งขึ้น
เนื่องจากแกะถอดออกมาไม่ได้
รวมไปถึงเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือได้มีช่องทางในการทำตลาดใหม่ๆ
และความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์รุ่นใหม่ทั้งหมดได้รวดเร็ว
ง่ายดายยิ่งขึ้น
เริ่มจากที่รู้จักกันดีอย่าง
SIM card หรือ Subscriber Identity Module
เป็นแผงวงจรที่ใช้ในการระบุและรับรองความถูกต้องในการใช้งานบนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือที่มีลักษณะเป็นชิปติดอยู่บนแผ่นพลาสติก
ซึ่งในช่วงแรกจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่มาก และมีการพัฒนาให้เล็กลงเรื่อยๆ
ที่รู้จักกันในชื่อ Nano SIM ในปัจจุบัน
เนื่องจากผู้ผลิตอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์พยายามที่จะพัฒนาให้อุปกรณ์ของตนเองมีขนาดเล็กและบางลงเรื่อยๆ
ไม่ว่าจะเป็นการนำช่องหูฟัง 3.5mm ออกไป แล้วหันมาใช้ร่วมกับพอร์ต USB
Type-C เพื่อลดพื้นที่ใช้งาน อย่างที่ได้เห็นในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ
และล่าสุด Apple Watch Series 3, Google Pixel 2 และ Pixel 2 XL
ก็มาพร้อมกับ eSIM นี้ด้วย
eSIM คืออะไร
ซิมการ์ดแบบ
eSIM หรือ embedded SIM เป็นซิมที่มีขนาดเล็กมาก มีความยาวเพียง 5
มิลลิเมตร และกว้างเพียง 5 มิลลิเมตร ในขณะที่ Nano SIM มีความยาว 12.30
มิลลิเมตร และกว้าง 8.80 มิลลิเมตร นั่นหมายความว่าขนาดของ eSIM
เล็กลงไปมากกว่าครึ่งเลยทีเดียว
โดยจะฝังอยู่ในตัวอุปกรณ์ตั้งแต่กระบวนการผลิต ไม่สามารถแกะถอดได้
แต่ทำงานได้เหมือนกับซิมการ์ดที่ถอดได้ทุกอย่าง
ซึ่งคาดว่าจะกลายเป็นมาตรฐานที่ถูกนำมาใช้งานกับสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ
อย่างแพร่หลายในเร็วๆ นี้
eSIM มีความสามารถ M2M หรือ Machine to
Machine ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ
สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันเองได้ และ Remote Provisioning
สำหรับเปิดใช้อุปกรณ์ใหม่ เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ
สายรัดข้อมือสำหรับออกกำลังกาย สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ได้จากระยะไกล
สามารถเลือกผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ แพ็กเกจการใช้งานได้ตามต้องการ
ตามมาตรฐานที่เป็นข้อกำหนดของ GSMA
ภาพจาก Deutsche Telekom AG
นอกจาก
eSIM จะเน้นไปที่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตแล้ว
สิ่งหนึ่งที่กำลังถูกพูดถึงนั่นก็คืออุปกรณ์ IoT ทั้งหมดหรือ Internet of
Things ที่จะใช้ประโยชน์จากซิมการ์ดรูปแบบใหม่นี้
ด้วยข้อจำกัดของอุปกรณ์หลายอย่างที่มีขนาดเล็กและไม่ต้องไปวุ่นวายกับการถอดใส่ซิมการ์ด
ก็จะช่วยให้การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในไม่กี่ปีต่อจากนี้ อุปกรณ์ IoT
จะกลายเป็นกลุ่มที่มีการเชื่อมต่อกันมากที่สุด แซงโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น